วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติของโรงพยาบาลจุฬาฯ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
200px
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลฝึกปฏิบัติแพทย์)
ที่ตั้ง1873 ถนนพระรามที่ 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457
สังกัดสภากาชาดไทย
ผู้อำนวยการรศ.นพ.โศภณ นภาธร
จำนวนเตียง1,439[1]
บุคลากร3,275 คน
เว็บไซต์www.chulalongkornhospital.go.th
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นหน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทย โดยดำเนินงานร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 136 ไร่ ตั้งอยู่ที่ 1873 ถนนพระรามที่ 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

[แก้] ประวัติ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างขึ้นโดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพร้อมด้วยพระราชภาดาและภคินี สนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] ด้วยเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระชนม์อยู่นั้น ได้ทรงพระราชดำริจัดตั้ง สภากาชาดไทย ซึ่งเรียกในเวลานั้นว่า สภาอุณาโลมแดง ขึ้นไว้ โดยรับการรักษาพยาบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ตามคติของนานาชาติที่เจริญแล้ว แต่การสภากาชาดไทยยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ถ้าจะบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้น ก็จะเป็นพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราชประสงค์แห่งองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และเป็นเกียรติแก่ราชอาณาจักรโดยทรงพระดำริเห็นพ้องกัน บรรดาพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกัน สมทบกับทุนของสภากาชาด สร้างโรงพยาบาลขึ้น และพระราชทานนามตามพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมชนกนาถว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2457[3] ตามแจ้งความสภากาชาดสยาม ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2457[4] ได้กำหนดจุดมุ่งหมายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ดีจริงต้องตามวิทยาศาสตร์แผ่พระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทั้งแพร่เกียรติยศของชาติไทย บริการรักษาพยาบาลช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ให้บริการรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้ทั้งในยามสงครามและปกติ โดยยึดมั่นในปณิธาณอันแน่วแน่ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง โดยให้บริการทางการแพทย์ พยาบาล ตลอดจนการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการรักษาพยาบาล มีการค้นคว้าวิจัย[5]และพัฒนาการรักษา พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการรักษาพยาบาลและงานวิจัย ทั้งนี้ด้วยการประสานงานกันเป็นอย่างดีระหว่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังเป็นสถานฝึกอบรมนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และนักเรียนโรงเรียนรังสีเทคนิค ซึ่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ในสายงานเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค จึงถือได้ว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นศูนย์รวมของความดีเด่นทางวิทยาการในสหสาขาวิชาของวงการแพทย์ในปัจจุบัน และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานบริการของโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

[แก้] หน่วยงาน/ฝ่าย

  • ฝ่ายอายุรศาสตร์
  • ฝ่ายผู้ป่วยนอก
  • ฝ่ายสวัสดิการสังคม
  • ฝ่ายธนาคารเลือด
  • ฝ่ายทันตกรรม
  • ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ
  • ฝ่ายการพยาบาล
  • ฝ่ายเภสัชกรรม
  • ฝ่ายเวชภัณฑ์
  • ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด
  • ฝ่ายบริหารงานพัสดุ
  • ฝ่ายบริหารงานอาคารและสิ่งแวดล้อม
  • ฝ่ายการเงิน
  • ฝ่ายงบประมาณและบัญชี
  • ฝ่ายเลขานุการ
  • ศูนย์ข้อมูลและต้นทุน
  • ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล
  • หน่วยพิธีการ
  • งานพัฒนาบุคลากร
  • กลุ่มงานนโยบายและแผน
  • ศูนย์พัฒนาคุณภาพ
  • ศูนย์ประกันสุขภาพ

[แก้] ศูนย์เฉพาะทาง

[แก้] อาคารและสิ่งก่อสร้าง

ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาคารและสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นพระราชานุสรณ์ของเจ้านายหลายพระองค์

[แก้] การเดินทาง

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น